5465 จำนวนผู้เข้าชม |
คำตอบ ไม่จริงครับ
ถ้าตรวจพบสายตาสั้นตั้งแต่เด็ก พออายุมากขึ้น สายตาก็มีโอกาสสั้นเพิ่มมากขึ้นครับ ถึงแม้ว่าจะใส่แว่นหรือไม่ใส่ก็ตาม แต่ข้อดีของการใส่แว่นจะทำให้มองเห็นได้ชัดเจนตามวัย ไม่ต้องหรี่ตาเพื่อให้ภาพชัด และทำให้การเจริญของจอประสาทตาเป็นไปอย่างปกติ ไม่เป็นโรคสายตาขี้เกียจ (Lazy eye)
จากการศึกษาค้นพบว่า ขนาดของการเปลี่ยนแปลงความยาวของลูกตา (Axial Length) ที่มากขึ้นส่งผลให้สายตาสั้นมากขึ้น ซึ่งขนาดของกระบอกตาที่ยาวมากจะมีขนาดเพิ่มขึ้นตามอายุ
ในช่วงวัยเด็กจะมีการเพิ่มของขนาดความยาวลูกตาค่อนข้างรวดเร็ว และจะเริ่มคงที่เมื่ออายุประมาณ 20 ปี ส่วนในช่วงอายุที่มากกว่า 30 ปี มักไม่มีการเปลี่ยนแปลงของความยาวลูกตา
ข้อมูลเพิ่มเติม
ปกติความยาวลูกตาอยู่ที่ประมาณ 23 mm ถ้ากระบอกตายาวมากกว่าปกติ 1 mm ส่งผลให้เกิดสายตาสั้นประมาณ -2.00D ถึง -2.50D ภาวะของสายตาสั้นคือ แสงจะตกก่อนจอรับภาพ ดังรูป 1.1
ดังนั้น ยิ่งอายุเพิ่มขึ้น กระบอกตาก็จะยาวขึ้น ทำให้เกิดสายตามากขึ้น แม้ว่าจะใส่แว่นหรือไม่ใส่ก็ตาม
และจากรูป 1.2 บ่งบอกว่าขนาดความยาวของลูกตาที่เพิ่มขึ้น จะสอดคล้องกับอายุที่เพิ่มมากขึ้น ทำให้มีแนวโน้มค่าสายตาสั้นเพิ่มขึ้นครับ
รูป 1.1) เปรียบระหว่างภาวะสายตาสั้นและภาวะปกติ
อ้างอิงรูปจาก https://www.allaboutvision.com/conditions/myopia.htm
1.2) รูปกราฟที่บ่งบอกว่าขนาดความยาวของลูกตาเพิ่มขึ้นสอดคล้องตามอายุที่เพิ่มมากขึ้น
อ้างอิงจาก website ของ American Academy of ophthalmology https://www.aaojournal.org/article/S0161-6420(10)01096-1/fulltext?fbclid=IwAR1oM8VoVJ1rpcNvfWgGpsH7FTGZ2WkW3nadBkJjhmWRjUfUnhGlfrE2Rgo
อ้างอิงบทความเกี่ยวกับ Axial length และรูป 1.2)
https://reviewofmm.com/shouldnt-we-treat-axial-length-as-essential-in-treating-myopia/